ภัยจาก ‘ฟองน้ำ’ ในห้องครัวของคุณ
จากการศึกษาของสถาบัน NSF International หรือองค์กรส่งเสริมอนามัยแห่งชาติอิสระระหว่างประเทศ ระบุว่าอันตรายจากฟองน้ำนั้น เกิดจากการซับล้างสิ่งต่างๆ ภายในบ้านของเจ้าฟองน้ำนี้ ขณะเดียวกันองค์กรดังกล่าวยังบอกอีกว่า ฟองน้ำในห้องครัวนั้นควรจะวางให้ไกลจากพื้นที่สกปรกภายในบ้าน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันสะสมเชื้อแบคทีเรียไว้กว่า 150 ครั้ง และก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อราได้มากกว่าในแปรงสีฟันของคุณด้วยซ้ำ และคุณจะรับเชื้อแบคทีเรียในขณะที่กำลังใช้ฟองน้ำทำความสะอาดสิ่งต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งนั่นเป็นเพราะคุณไม่เคยฆ่าเชื้อฟองน้ำระหว่างการใช้งานเลย จึงส่งผลให้เชื้อโรคทวีคูณขึ้นนั่นเองดร.ร็อบ โดนอฟริโอ ผู้อำนวยการองค์กรฯ กล่าวต่อว่า จะมีคนบางกลุ่มที่ไม่ได้รับความเจ็บป่วยจากเชื้อโรคที่พวกเขาค้นพบขึ้น โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น เชื้ออีโคไล ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรง ซึ่งวิธีกำจัดสิ่งสกปรกบนฟองน้ำที่ดีที่สุด คือการทำลายเชื้อโรคฟองน้ำของคุณ โดยการนำฟองน้ำที่เปียกเข้าไมโครเวฟวันละ 2 นาทีทุกวัน และควรเปลี่ยนฟองน้ำทำความสะอาดทุกๆ 2 สัปดาห์
ซึ่งเชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายของคุณในขณะที่คุณไม่สามารถรักษาความสะอาดที่มือได้ (เช่น มือของเด็กๆ) หลีกเลี่ยงการนำส่วนผสมจากไข่ดิบออกจากแป้งคุกกี้ และเมนูอาหารที่ต้องปรุงโดยใส่ไข่สุกๆ ดิบๆลงไปในอาหาร พิจารณาความสดสะอาดโดยการสังเกตจากเปลือกไข่ อย่างไรก็ตาม เจ้าไข่สุกๆ ดิบๆ เหล่านี้ก็ไม่แตกต่างไปจากไข่ปกติทั่วไป แต่ต้องได้รับความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้อันตรายต่อสุขภาพก่อนรับประทาน ก็จะช่วยทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยกว่าการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
ภัยคุกคามจาก ‘ตู้เย็น’
แม้ว่าอุณหภูมิเย็นจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม ตู้เย็นของคุณจะต้องมีอุณหภูมิ 40 องศาฟาห์เรนไฮต์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดความเสี่ยงของความเจ็บป่วยจากอาหารลง โดยการรักษาแถบบอกอุณหภูมิตู้เย็นโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ คุณสามารถหาซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิตู้เย็นและตู้แช่แข็งได้ที่ร้านค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และที่ศูนย์ใกล้บ้านคุณ หรือร้านขายอุปกรณ์เครื่องครัวออนไลน์ภัยจาก ‘เขียง’ ใบน้อยของคุณ
ว่ากันว่าเนื้อดิบๆ บนเขียงนั้นก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียได้โดยที่คุณแม่บ้านอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะเดียวกันเนื้อสัตว์ปีกและปลาสามารถปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์สดใหม่ก็ตาม ดังนั้นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อโรคไปสู่อาหารนั้น คุณแม่บ้านควรแยกเขียงในการปรุงอาหารแต่ละประเภท เช่น เขียงสำหรับหั่นเนื้อดิบ ไก่ ปลา และอาหารที่ปรุงสุกใหม่ที่ต้องหั่นบนเขียง ก็จะช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อของโรคไปสู่อาหารได้ทางหนึ่งภัยนึกไม่ถึงจาก ‘ไข่สุกๆ ดิบๆ’
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มีไข่แดงไหลเยิ้มเป็นส่วนประกอบ หรือแอบขโมยบางส่วนของไข่มาผสมกับแป้งเพื่อทำคุกกี้ และถ้าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่ทำแบบนั้น กลุ่มผู้บริโภคอาหารอินทรีย์ในสหรัฐ หรือ “usda” ได้ออกมาแนะนำให้หลีกเหลี่ยงไข่สุกๆ ดิบๆ (โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ) เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย จากภาวะอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร อย่างเชื้อจุลินทรีย์ “แซลโมเนลล่า”ซึ่งเชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายของคุณในขณะที่คุณไม่สามารถรักษาความสะอาดที่มือได้ (เช่น มือของเด็กๆ) หลีกเลี่ยงการนำส่วนผสมจากไข่ดิบออกจากแป้งคุกกี้ และเมนูอาหารที่ต้องปรุงโดยใส่ไข่สุกๆ ดิบๆลงไปในอาหาร พิจารณาความสดสะอาดโดยการสังเกตจากเปลือกไข่ อย่างไรก็ตาม เจ้าไข่สุกๆ ดิบๆ เหล่านี้ก็ไม่แตกต่างไปจากไข่ปกติทั่วไป แต่ต้องได้รับความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้อันตรายต่อสุขภาพก่อนรับประทาน ก็จะช่วยทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยกว่าการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ