วิธีเรียนให้เก่ง

ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ-สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกต และสิ่งที่สังเกต

ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก โดยจะวาดรูปหรือ บันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและ ตามสถานการณ์การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา

ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่ม เมื่อ มีการทำงานกลุ่ม เรา ไปเรียนรู้อะไรมาบันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่อง ได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอการนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนา ปัญญาทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม

ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่า เป็นพหูสูตบางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิด ของตัวเองหรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น

ฝึกปุจฉา-วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา-วิสัชนา หรือถาม-ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำ ให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม-ตอบ ก็ จะไม่แจ่มแจ้ง

ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้ว เรา ต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการ ฝึกการตั้งคำถาม ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความ สำคัญ ก็จะอยากได้คำตอบ

ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือไปคุยกับคนเฒ่าคน แก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่ สำคัญจะสนุกและทำให้ได้ความรู้มาก ต่างจากการท่องหนังสือ โดยไม่มีคำถาม บางคำถามเมื่อค้นหาคำตอบทุกวิถีทางจนหมด แล้วก็ไม่พบ แต่ถามยังอยู่ และมีความสำคัญ ต้องหาคำตอบต่อ ไปด้วยการวิจัย

การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ทุกระดับการวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิด ความภูมิใจ สนุก และมีประโยชน์มาก

เชื่อมโยงบูรณาการ ให้เห็นความเป็นทั้งหมดและเห็นตัวเอง ธรรมชาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เมื่อเรียนรู้อะไรมาอย่าให้ความ รู้นั้นแยกเป็นส่วน ๆ แต่ควรจะเชื่อมโยงเป็นบูรณาการให้เห็นความเป็น ทั้งหมดในความเป็นทั้งหมดจะมีความงาม และมีมิติอื่นผุดบังเกิด ออกมาเหนือความเป็นส่วน ๆ และในความเป็นทั้งหมดนั้นมองให้ เห็นตัวเอง เกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริง ว่าสัมพันธ์กับความ เป็นทั้งหมดอย่างไร จริยธรรมอยู่ที่ตรงนี้ คือการเรียนรู้ตัวเองตาม ความเป็นจริง ว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร

ดังนั้น ไม่ว่าการเรียนรู้อะไร ๆ ก็มีมิติทางจริยธรรมอยู่ในนั้นเสมอ มิติทางจริยธรรมอยู่ในความเป็นทั้งหมดนั่นเอง ต่างจากการเอา จริยธรรมไปเป็นวิชา ๆ หนึ่งแบบแยกส่วน แล้วก็ไม่ค่อยได้ผล ในการบูรณาการความรู้ที่เรียนรู้มาให้รู้ความเป็นทั้งหมด และเห็นตัวเองนี้ จะนำไปสู่อิสรภาพและความสุขอันล้นเหลือ เพราะ หลุดพ้นจากความบีบคั้นของความไม่รู้