ไม่ว่าจะเป็นการลองทำอาหารสูตรใหม่ๆ หรือแม้แต่เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร เช่น ไม่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ซึ่งใครเลยจะรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ นี้จะช่วยลดปริมาณแคลอรีของอาหารในแต่ละมื้อ ชนิดที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว วันนี้ โภชนาการซูซาน โบเวอร์แมน ที่ปรึกษาของเฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด มี 3 เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อความอร่อยโดยไม่ต้องกังวลกับน้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้น และยังช่วยลดน้ำหนักได้ด้วยมาฝากกัน ดังนี้
1. "โละทิ้ง" สูตรอาหารเดิมๆ เพื่อเริ่มต้นอิ่มอร่อยอย่างมีสุขภาพ
ลองเปลี่ยนแปลงอาหารสูตรเดิมๆ ที่เคยทำเป็นประจำ จะทำให้สามารถ "ลด" ปริมาณแคลอรีในระยะยาวได้อย่างคาดไม่ถึง เริ่มต้นจาก "สำรวจวัตถุดิบ" ในการปรุงอาหารแต่ละมื้ออย่างละเอียด แล้วลองพลิกแพลงหาวัตถุดิบใหม่ๆ มาทดลองใช้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึง คือ วัตถุดิบทดแทนใหม่ๆ นั้น เมื่อปรุงแล้วควรมีรสชาติที่ใกล้เคียงกับวัตถุดิบชนิดเดิม แต่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์มากกว่า
เช่น ใช้เนื้อไก่บ้านซึ่งเหนียวนุ่มในการปรุงอาหารแทนการใช้เนื้อวัว เลือกใช้ข้าวซ้อมมือแทนข้าวสารที่ขัดขาวเพื่อเพิ่มไฟเบอร์ในมื้ออาหาร หรือเพิ่มผลไม้หลากชนิดในสลัดเป็นต้น นอกจากนี้ "ปริมาณของวัตถุดิบ" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดแคลอรีในอาหารแต่ละมื้อได้ เช่น ถ้าเราต้องปรุงอาหารด้วยการทอดที่ต้องใช้น้ำมันท่วม อาจลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการผ่านความร้อนเร็วๆ บนกระทะที่ใช้น้ำมันน้อย แต่ทำให้สุกและคงคุณค่าอาหารได้มาก
วิธีนี้นอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำมันลงแล้ว ยังสามารถลดความเค็มและความหวานในการปรุงรสลงได้อีกด้วย เพราะรสชาติกลมกล่อมของวัตถุดิบจะคงอยู่โดยถูกลดทอนด้วยความร้อนและน้ำมันลงไม่มากนัก และเรายังสามารถเพิ่มปริมาณอาหารด้วยผักหลากชนิดได้อีกด้วย
2.ยิ่ง "ปรุง" เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร ยิ่ง "ปรับ" แคลอรีให้เพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว
เวลาทำอาหาร เรามักจะเคยชินกับการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่ถูกปาก เพราะเชื่อว่าหากปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบที่มีแคลอรีต่ำแล้ว เราก็จะบริโภคอาหารในมื้อนั้นๆ ด้วยปริมาณแคลอรีที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด ในความเป็นจริงแล้วด้วยขั้นตอนและวิธีการในการปรุงอาหารต่างหากที่ทำให้เราเข้าใจผิด จนในที่สุดก็บริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูงอย่างไม่รู้ตัว เช่น ใช้การทอดแทนการย่าง เพราะอาหารที่ทอดจะให้กลิ่นและรสที่กลมกล่อมกว่าการย่าง หรือการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่ถูกปาก จนละเลยเรื่องปริมาณของวัตถุดิบว่าใช้เกินกว่าที่ร่างกายต้องการ เป็นต้น
3.เคล็ดลับ (ก้นครัว)... ช่วยลดแคลอรีในอาหาร แต่คงความอร่อยอย่างมีสุขภาพ
- เลือกใช้วัตถุดิบที่ช่วยลดแคลอรี แต่เพิ่มคุณค่าในอาหาร เช่น เพิ่มผักหั่นลูกเต๋าเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญในทุกๆ ครั้งที่ปรุงอาหาร เลือกรับประทานสลัดทูน่าหรือสลัดไก่แทนพาสต้า (ชุ่มครีมซอส) ซึ่งจะลดแคลอรีของอาหารในแต่ละมื้อได้ทันที
- เลี่ยงการใช้เนยหรือซอสปรุงรสในการปรุงอาหาร โดยเลือกใช้น้ำมะนาว กระเทียม หัวหอม หรือเครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารให้เข้มข้นแทน ซึ่งนอกจากจะได้รสชาติไม่แพ้กันแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย
- สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานสลัด ลองเปลี่ยนจากผักกะหล่ำมาเป็นผักใบเขียวชนิดต่างๆ ที่ชอบและเพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่ด้วยการเติมผลไม้ผสมลงไป โดยเฉพาะส้ม แอปเปิลและกีวี ซึ่งนอกจากจะทำให้รสชาติของสลัดแปลกขึ้นจากเดิมแล้ว ยังช่วยทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร ที่มีคุณค่ามากขึ้นด้วย
- ผักและผลไม้แช่แข็งคืออีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งสามารถทดแทนผักที่ไม่สามารถหากินได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าผักสดบางชนิด เช่น ผักโขมแช่แข็งสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นซุปใส หรือจะลองผัดกระเทียมก็ยังคงรสชาติอาหารแบบดั้งเดิมไม่แพ้การใช้ผักโขมสด
- สำหรับผู้ที่ชื่นชอบเมนูอาหารฝรั่งที่มีกลิ่นนมเนยและเครื่องเทศ อย่างอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาทิ อิตาเลียนหรือสเปน ก็สามารถทำซุปข้นได้ง่ายๆ โดยไม่ใช่แป้ง เนย หรือครีม เพียงสับผักและปั่นกับน้ำซุป จากนั้นนำไปผัดให้งวดปรุงรสด้วยหัวหอม กระเทียม และเกลือ เติมน้ำซุปอีกเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำซุปแสนอร่อยที่สามารถนำไปเพิ่มรสชาติให้กับผัดผักหรือเมนูอื่นๆ ได้เลย แต่ถ้าต้องการซุปครีม ก็นำซุปข้นที่ปรุงแล้วปั่นกับนมไขมันต่ำและเต้าหู้ เพียงเท่านี้ก็จะได้ซุปเต้าหู้ครีมแสนอร่อย รับประทานกันได้ทั้งครอบครัว
- ถ้าคุณชื่นชอบอาหารเบาๆ อย่างสลัด ลองเปลี่ยนน้ำสลัดเป็นสูตรพร่องมันเนยดูบ้าง จะพบว่าเป็นการลิ้มรสชาติที่แตกต่างออกไป.
1. "โละทิ้ง" สูตรอาหารเดิมๆ เพื่อเริ่มต้นอิ่มอร่อยอย่างมีสุขภาพ
ลองเปลี่ยนแปลงอาหารสูตรเดิมๆ ที่เคยทำเป็นประจำ จะทำให้สามารถ "ลด" ปริมาณแคลอรีในระยะยาวได้อย่างคาดไม่ถึง เริ่มต้นจาก "สำรวจวัตถุดิบ" ในการปรุงอาหารแต่ละมื้ออย่างละเอียด แล้วลองพลิกแพลงหาวัตถุดิบใหม่ๆ มาทดลองใช้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึง คือ วัตถุดิบทดแทนใหม่ๆ นั้น เมื่อปรุงแล้วควรมีรสชาติที่ใกล้เคียงกับวัตถุดิบชนิดเดิม แต่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์มากกว่า
เช่น ใช้เนื้อไก่บ้านซึ่งเหนียวนุ่มในการปรุงอาหารแทนการใช้เนื้อวัว เลือกใช้ข้าวซ้อมมือแทนข้าวสารที่ขัดขาวเพื่อเพิ่มไฟเบอร์ในมื้ออาหาร หรือเพิ่มผลไม้หลากชนิดในสลัดเป็นต้น นอกจากนี้ "ปริมาณของวัตถุดิบ" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดแคลอรีในอาหารแต่ละมื้อได้ เช่น ถ้าเราต้องปรุงอาหารด้วยการทอดที่ต้องใช้น้ำมันท่วม อาจลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการผ่านความร้อนเร็วๆ บนกระทะที่ใช้น้ำมันน้อย แต่ทำให้สุกและคงคุณค่าอาหารได้มาก
วิธีนี้นอกจากจะลดปริมาณการใช้น้ำมันลงแล้ว ยังสามารถลดความเค็มและความหวานในการปรุงรสลงได้อีกด้วย เพราะรสชาติกลมกล่อมของวัตถุดิบจะคงอยู่โดยถูกลดทอนด้วยความร้อนและน้ำมันลงไม่มากนัก และเรายังสามารถเพิ่มปริมาณอาหารด้วยผักหลากชนิดได้อีกด้วย
2.ยิ่ง "ปรุง" เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร ยิ่ง "ปรับ" แคลอรีให้เพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว
เวลาทำอาหาร เรามักจะเคยชินกับการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่ถูกปาก เพราะเชื่อว่าหากปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบที่มีแคลอรีต่ำแล้ว เราก็จะบริโภคอาหารในมื้อนั้นๆ ด้วยปริมาณแคลอรีที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด ในความเป็นจริงแล้วด้วยขั้นตอนและวิธีการในการปรุงอาหารต่างหากที่ทำให้เราเข้าใจผิด จนในที่สุดก็บริโภคอาหารที่มีแคลอรีสูงอย่างไม่รู้ตัว เช่น ใช้การทอดแทนการย่าง เพราะอาหารที่ทอดจะให้กลิ่นและรสที่กลมกล่อมกว่าการย่าง หรือการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่ถูกปาก จนละเลยเรื่องปริมาณของวัตถุดิบว่าใช้เกินกว่าที่ร่างกายต้องการ เป็นต้น
3.เคล็ดลับ (ก้นครัว)... ช่วยลดแคลอรีในอาหาร แต่คงความอร่อยอย่างมีสุขภาพ
- เลือกใช้วัตถุดิบที่ช่วยลดแคลอรี แต่เพิ่มคุณค่าในอาหาร เช่น เพิ่มผักหั่นลูกเต๋าเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญในทุกๆ ครั้งที่ปรุงอาหาร เลือกรับประทานสลัดทูน่าหรือสลัดไก่แทนพาสต้า (ชุ่มครีมซอส) ซึ่งจะลดแคลอรีของอาหารในแต่ละมื้อได้ทันที
- เลี่ยงการใช้เนยหรือซอสปรุงรสในการปรุงอาหาร โดยเลือกใช้น้ำมะนาว กระเทียม หัวหอม หรือเครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารให้เข้มข้นแทน ซึ่งนอกจากจะได้รสชาติไม่แพ้กันแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย
- สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานสลัด ลองเปลี่ยนจากผักกะหล่ำมาเป็นผักใบเขียวชนิดต่างๆ ที่ชอบและเพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่ด้วยการเติมผลไม้ผสมลงไป โดยเฉพาะส้ม แอปเปิลและกีวี ซึ่งนอกจากจะทำให้รสชาติของสลัดแปลกขึ้นจากเดิมแล้ว ยังช่วยทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร ที่มีคุณค่ามากขึ้นด้วย
- ผักและผลไม้แช่แข็งคืออีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งสามารถทดแทนผักที่ไม่สามารถหากินได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าผักสดบางชนิด เช่น ผักโขมแช่แข็งสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นซุปใส หรือจะลองผัดกระเทียมก็ยังคงรสชาติอาหารแบบดั้งเดิมไม่แพ้การใช้ผักโขมสด
- สำหรับผู้ที่ชื่นชอบเมนูอาหารฝรั่งที่มีกลิ่นนมเนยและเครื่องเทศ อย่างอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาทิ อิตาเลียนหรือสเปน ก็สามารถทำซุปข้นได้ง่ายๆ โดยไม่ใช่แป้ง เนย หรือครีม เพียงสับผักและปั่นกับน้ำซุป จากนั้นนำไปผัดให้งวดปรุงรสด้วยหัวหอม กระเทียม และเกลือ เติมน้ำซุปอีกเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำซุปแสนอร่อยที่สามารถนำไปเพิ่มรสชาติให้กับผัดผักหรือเมนูอื่นๆ ได้เลย แต่ถ้าต้องการซุปครีม ก็นำซุปข้นที่ปรุงแล้วปั่นกับนมไขมันต่ำและเต้าหู้ เพียงเท่านี้ก็จะได้ซุปเต้าหู้ครีมแสนอร่อย รับประทานกันได้ทั้งครอบครัว
- ถ้าคุณชื่นชอบอาหารเบาๆ อย่างสลัด ลองเปลี่ยนน้ำสลัดเป็นสูตรพร่องมันเนยดูบ้าง จะพบว่าเป็นการลิ้มรสชาติที่แตกต่างออกไป.