ดร.แมทธิว วอลเกอร์ นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทดสอบเด็กวัยโจ๋อายุ 13-17 ปี จำนวน 23 คน โดยใช้เครื่องสแกนสมองระบบเอ็มอาร์ไอ ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของสมองใน 2 กรณี
คือเมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อน เต็มที่ และหลังจากอดนอน 1 คืนเต็มๆ ปรากฏว่า สมองกลีบหน้า หรือฟรอน ทัลโลบซึ่งใช้ในการคิดและวิเคราะห์ ตอบสนองต่อการทดสอบช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่สมองในส่วนลึกซึ่งควบคุมความรู้สึก และความต้องการกลับตื่นตัวมากขึ้น ส่งผลให้เด็กที่ขาดการพักผ่อนมีความหิวอยากกินอาหาร โดยเฉพาะเมนูอันตราย อย่างไขมัน น้ำตาล และเกลือ เพื่อนำพลังงานที่สูญเสียจากการนอนไปทดแทนให้กับสมองซึ่งต้องใช้ความคิด
ดังนั้นเมื่อนอนดึก หรือนอนไม่เพียงพอ จึงทำให้อ้วนโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง