- ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้
- ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ
- ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน โดยจะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
- ต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ใช้พิมพ์ไม่ได้
- จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้
- ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ
- ต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือเครื่องหมาย อื่นไม่ได้
- ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ ดำเนินการให้
4. พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ โดยปฏิบัติดังนี้
- ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
- ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน
- เมื่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่งแล้วนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา
ใช้เฉพาะกรณีที่เกิดเหตุการณ์พิเศษ ไม่สามารถทำ พินัยกรรมตามแบบอื่นที่ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้เสียชีวิต เกิดโรคระบาด หรือ สงคราม ทั้งนี้ พินัยกรรมจะหมดอายุภายใน 1 เดือนนับจากผู้ทำ พินัยกรรมกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นได้
- แสดงเจตนาต่อหน้าพยาน อย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
- พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตน และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความพินัยกรรม และสาเหตุที่ต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา
ที่มา https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?innerMenuId=47&name=lifeevent_detail_postretire-8
อ่านแบบละเอียด
http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/40-general-testament