มนุษย์จะก้าวเข้าสู่ New Normal หลังผ่านพ้นวิกฤติสถานการณ์ COVID-19
ราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติศัพท์ “New Normal” หมายถึง ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต
1. วิวัฒนาการของบ้านและหน้าที่ (ทำงาน, เรียนหนังสือออนไลน์)
การผสานกันของบ้านและหน้าที่ (Evolving of Home and Duty) เนื่องจากการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 จะเห็นได้เลยว่าองกรค์หลายที่มีการปรับตัวให้พนักงานทำงานได้จากที่บ้านซึ่งเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทำให้ผู้คนเริ่มเข้าใจและสร้างสมดุล ระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวมากขึ้น ต่อไปอาจจะส่งผลให้ถวิลหาบรรยากาศที่บ้านเวลาไปที่ทำงาน
นอกจากนี้การใช้ชีวิตกับครอบครัวในช่วงการเว้นระยะห่างทางสังคม ดิจิทัลมีบทบาทเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่ลูกเล็ฏอยู่ในวัยเรียน ทางโรงเรียนก็มีการปรับตัวให้เด็กเรียนหนังสือผ่านออนไลน์ หลายคนตั้งคำถามว่าการเรียนหนังสือจากที่บ้านอาจเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเด็กในยุคเจนซี (Gen Z) และเจเนอเรชันอัลฟ่า (Alpha Generation) หรือไม่ ด้านซอฟต์แวร์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ในการดำรงชีวิตจะยังคงถูกคิดค้น และจะถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของชีวิตมนุษย์
2. อยู่บ้านอย่างมีสไตล์ ชีวิตบนโลกโซเชียลจะมาพร้อมโลกส่วนตัวให้ได้เห็น
เกิดวิถี In Home in Style เมื่ออยู่บ้านมาขึ้น จะทำให้หลายคนถ่ายทอดเรื่องราวด้วยการโพสต์ชีวิตด้านส่วนตัวบนโลกโซเชียลให้ได้เห็นมากขึ้น เน้นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้จะได้เห็นว่าการสั่งอาหารในแพ็กเกจรักษ์โลก ถ่ายรูปลงอินสตาแกรมจะมีกันมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ ภาพของการทำอาหารที่้้บ้าน กินข้าวกันพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว จะถูกแทนที่ด้วยพฤติกรรมนี้ อีกทั้งยอดการช้อปปิ้งออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละครั้ง การเดินทางออกไปซื้อของเองจะลดลงด้วย
3. สินค้าและบริการต่างๆ ยกระดับความสะอาด ช้อปปิ้งแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี
สะอาด 5 สัมผัส (Sanitized of Five Senses) คาดการณ์ว่า สินค้าและบริการต่างๆ หลายประเภท ต้องปรับตัวด้วยการยกระดับความสะอาดให้กับผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจะกลายเป็นของใช้ประจำวัน ช่องชำระสินค้าแบบไร้การสัมผัส จะสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบใหม่ เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียงจะกลายเป็นสิ่งจำเป็น ในสถานที่หรูหรารวมถึงร้านค้าปลีกด้วย ผู้บริโภคยังคงคาดหวังให้ร้านค้าวางเจลแอลกอฮอล์รวมถึงมีบรรจุภัณฑ์ถูกสุขอนามัยให้
4. สังคมไร้เงินสด ทำธุรกรรมผ่านโลกดิจิทัล
เก่งเทคโนโลยีการเงิน (Tech-finance Literacy) จะเห็นได้ว่าเริ่มมีการไม่ใช้เงินสดมาระยะหนึ่งในการใช้จ่ายและจะยังคงดำเนินต่อไป เพราะธนบัตรเงินเหรียญต่างๆ เป็นอีกแหล่งเชื้อโรค ต่อไปมนุษย์จะหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพราะคำนึงเรื่องความปลอดภัยเราจะได้เห็นพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านโลกดิจิทัล, ดิจิทัลแบงกิ้ง (Digital Banking) หรือ ธนาคารแบบออนไลน์, แอปพลิเคชัน e-Wallet ซึ่งถือเป็นใบเบิกทาง สู่การทำทุกอย่างให้เป็นอีคอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้นด้วย
5. ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การหาหมอทางออนไลน์จะมากขึ้นด้วย
ทุกคนจะมีความกังวลเรื่องสุขภาพ (Anxious about Health) และหาวิธีการดูแล ใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางการหาแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ เพราะข้อมูลทางการแพทย์ที่เผยว่า การรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอจะช่วยป้องกันไวรัสได้ ดังนั้นแล้วอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น, การหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรคจะเป็นสิ่งที่คนทำมากที่สุด การตรวจรักษากับแพทย์ผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น, การให้คำปรึกษาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิตแบบออนไลน์จะเป็นสิ่งสำคัญด้านสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่
6. ผู้บริโภคต้องเชื่อมั่น “สุขอนามัย” ในแบรนด์ จึงจะตัดสินใจซื้อ
รูปแบบใหม่ของความเชื่อมั่น (Nouveau Trust) ผู้บริโภคจะต้องการข้อมูลและคอนเทนต์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าที่จะซื้อ โดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาด ปลอดภัย สินค้าที่มีการตรวจสอบย้อนกลับได้, บรรจุภัณฑ์ของอาหารนำเข้าไมโครเวฟได้, สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้, ถูกสุขอนามัย และปิดมิดชิด แบรนด์ใดผ่านเกณฑ์เหล่านี้ผู้บริโภคคนไทยจะสนใจเพิ่มมากขึ้น จะเกิดความรู้สึกเชื่อใจในปัจจัยด้าน ‘สุขอนามัย’
7. งานบ้านเข้าสู่โลกดิจิทัล
ยอดขายจาก ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกี่ยวกับตัวช่วยด้านงานบ้านต่าง ๆ จะมากขึ้น (Digitized Chore) เพราะเมื่อผู้คนอยู่บ้าน จึงทำให้ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของหรือทำอาหารกินเอง โดยใช้โทรศัพท์มือถือสั่งของผ่านโลกออนไลน์ ซื้อของใช้ในบ้าน อาหาร หรือข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น จะไม่มีกำแพงกั้นในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้า กับการสั่งออนไลน์ จึงคาดการณ์ได้ว่ายอดขายจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะเพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วย
8. การเปลี่ยนคุณค่าของ ความนิยมและพฤติกรรมการเสพสื่อ
สื่อจะมีการปรับเปลี่ยน เนื่องมาจากความต้องการพื้นฐานด้านสุขอนามัย ผู้คนจะมีความนิยมและพฤติกรรมการเสพสื่อที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น (Conversion of Media Appreciation) เนื่องมาจากความต้องการพื้นฐานด้านสุขอนามัย ผู้บริโภคจะใช้เวลาในโลกออนไลน์ยาวนานขึ้น รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ จะถูกเชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อ อันเป็นผลจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค และการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวมากขึ้น
อีกทั้งการปรับเปลี่ยนสื่อต่างๆ ทั้งในโรงภาพยนตร์ งานอีเวนต์ การทดสอบผลิตภัณฑ์ ต้องยกระดับด้านสุขอนามัยมากขึ้น การรวมพลังทางสังคมจะเกิดขึ้น และแข็งแกร่งกว่าครั้งใดๆ นำไปสู่การลดความแตกแยก เนื่องจากมีการคำนึงถึงส่วนรวม แทนการคำนึงถึงแต่ส่วนตน ข่าวปลอมต่างๆ จะลดน้อยลง สัญญาณข้อมูลต่างๆ (Data Signal) จะมีความละเอียดมากขึ้น โดยจะถูกนำไปผูกกับการระบุพิกัด (Geolocation) โดยผู้บริโภคจะยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมีคุณภาพอย่างยั่งยืน
บทความโดย การคาดการณ์ของ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย