คนช่างคิด คนคิดมาก

กระดาษชำระ ราคา 25 บาท ได้ 220 แผ่น
กับ 20 บาท ได้ 150 แผ่น
คำนวณแล้วตกมาแผ่นละ 8.80 กับ 7.50 เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ซื้อ 20 บาทจะคุ้มค่ากว่า
แต่ไม่ว่ายังไง ทุกๆ 1 แผ่นที่เราใช้งาน ก็คือการผลาญเงินของเราไปนั่นเอง


1. ดื่มน้ำเต้าหู้ ตามด้วยส้ม ทำให้อาหารไม่ย่อย
– เพราะเมื่อน้ำเต้าหู้ที่อุดมด้วยโปรตีนพบกับกรดส้ม จะทำให้โปรตีนแข็งตัวและย่อยยาก เป็นปัญหาต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นต้น

2. กินข้าว ตามด้วยผลไม้ ทำให้กระเพาะลำไส้ปั่นป่วน
ไม่ควรกินผลไม้ระหว่างกินข้าวหรือหลังกินข้าวอิ่มทันที เพราะน้ำตาลจากผลไม้ที่อยู่ในกระเพาะและน้ำย่อยในกระเพาะจะทำปฏิกิริยากับข้าวมากเกินไป จนเกิดเป็นแก๊สในกระเพาะ ก่อให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ควรเว้นช่วง 1 ชม. หลังกินข้าวเสร็จ แล้วค่อยกินผลไม้

3. ดื่มน้ำมากๆ
ในแต่ละวัน เราควรดื่มน้ำวันละ 2,000 ซีซี เป็นอย่างน้อย จึงทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ แทนน้ำ เพราะเครื่องดื่มเหล่านั้นจะมีน้ำตาลและอิเล็กโทรไลต์สูง ซึ่งจะตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าน้ำ การดื่มน้ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและความอยากอาหาร เป็นภาระให้กับไต และอาจทำให้อ้วนได้อีกด้วย

4. ไม่ควรดื่มน้ำมากๆ หลังอาหาร
การดื่มน้ำมากๆ หลังอาหารจะไปเจือจางน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไม่เพียงขัดขวางการย่อยและการดูดซึมสารอาหารเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ไม่สามารถทำลายแบคทีเรียที่อยู่ในอาหารอีกด้วย ซึ่งจะทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ติดเชื้อ

5. ออกกำลังกายมากเกินไป เป็นโทษ
การออกกำลังกายที่พอเหมาะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและกระบวนการเมแทบอลิซึม ทำให้ร่างกายแข็งแรง หากหักโหมออกกำลังกายจะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแย่ลง เป็นผลเสียต่อสุขภาพ

6. ไม่ควรกินอาหารซ้ำกันบ่อยๆ
สารอาหารในอาหารแต่ละชนิดแตกต่างกัน การเลือกกินแต่อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไปและน้อยเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้

7. อย่าอ่านหนังสือขณะขับถ่าย
การนั่งอ่านหนังสือขณะเข้าห้องน้ำทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ได้ง่าย เนื่องจากการอ่านหนังสือขณะขับถ่ายจะทำให้ความสนใจเบี่ยงเบนไปที่หนังสือ จนกระทั่งมองข้ามการขับถ่าย จึงสูญเสียแรงบีบอุจาระตกค้างในลำไส้ตามปกติไป ก้อนอุจาระตกค้างในลำไส้เป็นเวลานานขึ้น อาจเกิดอาการท้องผูก นอกจากนี้การอ่านหนังสือทำให้ลืมเวลา จึงนั่งขับถ่ายเป็นเวลานานเกินไป อาจส่งผลให้เลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ เส้นเลือดโป่งพองในทวรหนัก จนอาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารหนัก

8. อย่าใช้ทิชชูเช็ดภาชนะใส่อาหาร
ถึงแม้การเช็ดภาชนะใส่อาหารด้วยทิชชูจะทำความสะอาดสิ่งสกปรกและเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่กระดาษทิชชูจำนวนมากในท้องตลาด (โดยเฉพาะทิชชูจากโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน) มักผ่านการฆ่าเชื้อไม่ดีพอ ดังนั้น บนกระดาษทิชชูจึงมีเชื้อโรคจำนวนมาก หรือแม้แต่กระดาษทิชชูที่ฆ่าเชื้ออย่างดีแล้ว หากวางไว้ก็สกปรกได้ และเมื่อเรานำกระดาษทิชชูเหล่านี้มาเช็ดภาชนะใส่อาหาร ก็เป็นการเพิ่มสิ่งสกปรกและเชื้อโรคให้ภาชนะ

9. เป็นหวัด อย่ากินแตงโม
ช่วงฤดูร้อน หากเป็นหวัดไม่ควรกินแตงโมในช่วงแรกของอาการ เนื่องจากแตงโมจัดเป็นอาหารประเภทหวานและมีฤทธิ์เย็น มีสรรพคุณขับความร้อน แก้กระหาย ขับปัสสาวะ การกินแตงโมในช่วงระยะแรกของอาการหวัด นากจากไม่ช่วยบรรเทาอาการของโรคแล้ว ความเย็นของแตงโมยังส่งผลให้อาการป่วยหนักขึ้น ดังนั้นการกินแตงโมเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพควรให้หายจากอาการหวัดเสียก่อน

10. อย่าอาบน้ำขณะอิ่มหรือท้องว่าง
การอาบน้ำทันทีหลังกินอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะการอาบน้ำจะทำให้ร่างกายต้องสูบฉีดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่บริเวณผิวเพิ่มขึ้น จึงเท่ากับเป็นการย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารลดลง ซึ่งหากปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำ อาจส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ส่วนการอาบน้ำขณะท้องว่างจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า มึนศรีษะ ตื่นเต้น เนื่องจากร่างกายขาดน้ำและมีน้ำตาลในเลือดต่ำ