• ได้รับรายได้แน่นอนเท่ากันทุกเดือน
• ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องลงทุนเอง
• มีสังคมกว้าง ทันโลกทันเหตุการณ์
• มีสวัสดิการดีกว่าคนทำกิจการส่วนตัว
• ไม่มีล้มละลาย
• ทำงานเพียงหน้าที่ที่รับผิดชอบ
• เบื่อเมื่อไร เปลี่ยนได้ทันที
• มีวันหยุดเยอะ
ข้อคิดสำหรับชีวิตการเป็นลูกจ้าง
• ต้องเข้าใจบทบาทในหน้าที่นั้นอย่างถ่องแท้
• ต้องปรับอารมณ์ให้เข้ากับบทบาทของงานในตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย
• ต้องพร้อมที่จะซ้อมบทบาทใหม่อยู่ตลอดเวลา
• ต้องคิดว่า “ทุกครั้งที่ทำเต็มที่ เราได้มากกว่าองค์กร”
• ต้องมีจรรยาบรรณ
• ต้องไม่เอาผลตอบแทนเป็นตัวนำ เพราะจะทำให้บทบาทการแสดงเปลี่ยนไป
มนุษย์เงินเดือนมือใหม่ ควรจะปรับตัวอย่างไร?
• เปิดการทักทายกับทุกคน
• จดจำบุคคลสำคัญในองค์กรให้ได้
• เรียนลัดจากคนเก่าและเอกสาร
• อย่าคบคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว
• ฟังและถามให้มากกว่าพูด
• เก็บข้อมูลโดยการจดบันทึก
• เข้าร่วมกิจกรรมให้มากที่สุด
• อย่าเพิ่งแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ
เทคนิคการเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นบวก
• คิดเข้าข้างตัวเอง
• คบเพื่อนคิดบวก
• คิดถึงสิ่งที่แย่กว่า
• คิดว่าโอกาสที่มีคุณค่าคือจุดเล็กๆ ที่คนทั่วไปมองข้าม
สรุป : การคิดบวกถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับคนที่อยากจะเป็น “มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ” คนคิดลบเปรียบเสมือนถังขยะที่เก็บแต่สิ่งที่ไร้ค่าในขณะที่…คนคิดบวกเปรียบเสมือนคลังสมบัติที่เก็บแต่สิ่งที่ล้ำค่า จงทำงานให้มากกว่าเงินเดือน
เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดนี้ คือ
* ทำมาก...ได้ประสบการณ์มาก
* ทำมาก... ได้สร้างผลงานให้ปรากฏ
* ทำมาก…มีโอกาสเป็นบุคคลสำคัญขององค์กรมาก
* ทำมาก...สบายในภายหลัง
เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ
ความก้าวหน้าในอาชีพของ “มนุษย์เงินเดือน” มักจะถูกกำหนดโดยองค์กร หรือเรียกว่าระบบ “เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ” การเติบโตในเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ
1. ปัจจัยภายใน คือความพร้อมของตัวเราเอง
2. ปัจจัยภายนอก คือสถานการณ์ที่เอื้อหรือไม่เอื้อต่อการเติบโต
คนที่มีแผนที่เดินทางย่อมไปถึงเป้าหมายได้ดีกว่าและเร็วกว่าคนที่ไม่มีแผนที่นำทางอย่างแน่นอน
เทคนิคการพัฒนา “ลูกน้อง” ให้เป็น “หัวหน้า”
• ฝึกให้ลูกน้องคิดแทนหัวหน้าก่อนที่หัวหน้าจะคิดทำ
• ให้โอกาสลูกน้องได้เป็นหัวหน้า (โดยการมอบหมายงานให้ทำ)
• ร่วมกับลูกน้องกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ
• พัฒนาลูกน้องตามความถนัดและเหมาะสม
เทคนิคการทำงานกับผู้บริหารหัวก้าวหน้า
• ป้อนข้อมูลใหม่ๆ ให้ผู้บริหารได้มีโอกาสเลือก
• คิดและเตรียมสิ่งใหม่ๆ ไว้ล่วงหน้า
• อย่าเสี่ยง !! เถียงกับผู้บริหารในขณะที่กำลังร้อนวิชา
• จงลองทำเองก่อนและค่อยใช้คนนอกมาช่วย
การบริหารชีวิตในระหว่างเดินทางอยู่บนถนน สายอาชีพลูกจ้าง
• มองไปข้างหน้าให้มากกว่ายึดอยู่กับอดีตและติดอยู่กับปัจจุบัน
• คิดเสียว่าไม่มีใครอยู่กับเราตลอดชีวิต
• ไม่มีมิตรและศัตรูที่ถาวรในที่ทำงาน
• ทุกคนเป็นคนดี แต่เส้นทางเดินอาจจะทับกันบ้าง
• คิดว่าเราเพิ่งรู้จักทุกคนในทุกวัน
ความเจ็บปวดช่วยสร้างคุณค่าของการมีชีวิตเป็นปกติฉันใดการขัดแย้งกันบ้าง จะช่วยสร้างคุณค่าของความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันฉันนั้น
ลด ละ เลิก ค่านิยม “ใช้ก่อนผ่อนทีหลัง”
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่านิยม “ใช้ก่อนผ่อนทีหลัง” เกิดขึ้นมากในสังคมไทย มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. คนไทยชอบเห่อ หรืออยาก
2. ผู้ทำธุรกิจปล่อยเงินกู้หรือขายสินค้าออกโฆษณาล่อใจเหลือเกิน (เจอโฆษณาแบบนี้ ร้อยทั้งร้อยก็ไม่รอด จอดป้ายเงินผ่อนทุกราย)
ข้อควรพิจารณาก่อนจะผ่อนอะไร
• สิ่งที่ผ่อนเป็นภาระหรือการลงทุน
• จำเป็นต่อชีวิตหรือไม่
• มีเงินพอหรือไม่
การวางแผนการเก็บเงิน
เทคนิคง่ายๆ คือ “หลัก 3 บัญชี” โดยให้เปิดบัญชี 3 บัญชี ดังนี้
บัญชีที่ 1 คือบัญชีที่เงินเดือนเข้าไว้กดเอทีเอ็มสำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
บัญชีที่ 2 คือบัญชีเงินออมเพื่อฉุกเฉิน เร่งด่วน(อาจจะเป็นออมทรัพย์ก็ได้)
บัญชีที่ 3 คือบัญชีเงินออมเพื่อออกจากงานหรือออมเพื่ออนาคต
ไม่มีความทุกข์ใดจะหนักและหนาเท่ากับการผ่อนหนี้ที่ก่อขึ้นมาจากความโลภและไม่ประมาณตนเอง
จรรยาบรรณประจำตำแหน่งมนุษย์เงินเดือน
• จงตระหนักว่าบทบาทและหน้าที่ของเราคืออะไร
• จงพอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ
• จงคิดว่ามลทินในชีวิตไม่มีน้ำยาอะไรลบออกได้
• จงคิดว่าถ้าบริษัทเป็นของเรา เราจะทำหรือไม่
• จงชมตัวเองทุกครั้งที่รักษาจรรยาบรรณไว้ได้
• จงสอนตัวเองโดยผ่านการสอนคนอื่น
• อย่าเห็นแก่ประโยชน์แม้เพียงเล็กน้อย
• อย่าทำเพราะคนอื่นเขาทำกัน
• อย่าคิดว่าทำแล้วไม่มีใครรู้ใครเห็น
เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข
• การรักงานที่ทำอยู่ คือประตูสู่การทำงานที่เรารัก
• เปลี่ยนปัญหาให้เป็นความท้าทาย
• อย่าเปิดช่องว่างให้ความเบื่อเข้ามาแทรก
• อย่าระบายอารมณ์ลงที่งาน
แบ่งหัวใจให้เรื่องสำคัญก่อนความสุขในการทำงานไม่ต้องหาจากที่ไหนมันอยู่ที่ใจของเราเอง
รายการอาหารประจำวัน
เช้า : กาแฟ ขนมปัง มาม่า น้ำผลไม้ 10+5+5+10 = 30 บาท
กลางวัน : ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว ผลไม้ น้ำดื่ม 30+10+5 = 45 บาท
เย็น : ข้าวไข่เจียวหมูสับ แกงจืด 15+20 = 35 บาท
ค่าใช้จ่ายประจำวันเบ็ดเตล็ด = 60 บาท
รวมค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งวันเท่ากับ 30+45+35+60 = 170 บาท
จำนวนวันทั้งหมด ตั้งแต่อายุ 56 (หลังเกษียณ) ถึง 80=25 ปีคูณ 365 วัน = 9,125 วัน
ดังนั้นเงินที่จำเป็น ต้องใช้เพื่อประทังชีวิตอยู่ขั้นต่ำเท่ากับ 9,125 คูณ 170 = 1,551,250 บาท เงินจำนวนนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่สำคัญอื่นๆ เช่น ค่ารถ ค่าซ่อมรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าซ่อมบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดคือ ค่ารักษาพยาบาลสำหรับตัวเอง
คุณคิดว่าตอนคุณอายุ 55 คุณมีเงินเก็บขั้นต่ำ หนึ่งล้านห้าแสนบาทหรือยัง ??? ..