เทคนิค เรียนภาษา สำหรับผู้ใหญ่
เรียนรู้คำศัพท์จากทุกสิ่งรอบตัว
เมื่อเราเริ่มเรียนภาษาใหม่ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวนับเป็นบทเรียนที่เราสามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้คำศัพท์ ลองนึกหรือมองทุกสิ่งรอบตัวให้เป็นภาษาอังกฤษ นึกคำศัพท์ของสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าไม่แน่ใจศัพท์คำไหน ก็ลองเปิดดิกดู ณ ตอนนั้นเลย หรือใครไม่สะดวกก็จดไว้ก่อน ค่อยมาเปิดดิกทีหลัง นอกจากนี้การแปะคำศัพท์ไว้ที่สิ่งของในบ้าน หรือที่ทำงาน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถจดจำคำศัพท์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
จำเป็นกลุ่มคำหรือประโยค
การรู้ศัพท์เป็นคำ ๆ นั้นจะดีสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนภาษาใหม่ ๆ แต่การเรียนโดยจำเป็นกลุ่มคำ หรือประโยค จะทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริงได้มากกว่า เพราะจะทำให้เราเข้าใจทั้ง โครงสร้าง รูปแบบประโยค คุณจะจะสามารถสร้างประโยคใหม่ ๆ เองได้ ด้วยการเปลี่ยนแค่คำนาม หรือคำกริยา โดยใช้รูปประโยคเดิม เช่น ประโยคที่คุณจำได้คือ I would have bought the eggs, but they were broken. แต่คุณสามารถสร้างประโยคใหม่เป็น “I would have read the book, but it was too long” หรือ “I would have worn my blue sweater, but it was torn.”
ฝึกพูดบทสนทนาเสมือนจริงกับเจ้าของภาษา
ไม่ว่าจะเป็นคนไทยที่พูดภาษานั้น ๆ ได้คล่อง หรือจะเป็นชาวต่างชาติเจ้าของภาษาก็ยิ่งดี นอกจากจะทำให้เราได้สังเกตการใช้คำ และรูปแบบประโยค แล้วนำมาปรับใช้ให้เราใช้ภาษาได้ดีขึ้น และช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่คู่สื่อสารต้องการจะสื่อแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการพูดคุยภาษานั้น ๆ เมื่อถึงเวลาต้องใช้จริงอีกด้วย
พาตัวเองได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาษานั้น ๆ
เปิดโอกาสให้ตัวเองได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาษานั้น ๆ ถ้าใครไม่สะดวกที่จะพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่คนที่ใช้ภาษานั้น ๆ อย่างการไปอยู่เมืองนอก หรือไปเข้าชมรมต่าง ๆ ก็มีวิธีการง่าย ๆ ที่ได้ผลเช่นกัน เช่น ฟังเพลงญี่ปุ่น ฟังข่าวภาษาจีน หรือฟัง Podcast ภาษาอังกฤษ ในขณะที่กำลังทำงานบ้าน หรือจะเป็นการดูหนัง หรือซีรีส์ โดยการเปิดซับไทเทิล รวมถึงการอ่านหนังสือ โดยอ่านออกเสียงดัง ๆ โดยไม่ต้องแคร์ว่าจะเข้าใจเนื้อหาหรือไม่
ไม่ชอบอะไรก็ไม่ต้องฝืน
ถ้าคุณเกลียดแกรมม่า ก็ไม่ต้องไปตะบี้ตะบันเรียนมันมากนัก ลองใช้เวลาสักวันละ 10 นาที อ่านหนังสือหรือบทความที่คุณสนใจ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ แล้วพักด้วยการทำความเข้าใจแกรมม่าสัก 5 นาที แต่ค่อย ๆ สะสมไป ก็ได้ผลเหมือนกัน
และสิ่งสุดท้ายที่อยากฝากไว้ อย่ามองว่าการฝึกภาษใหม่ ๆ นั้นเป็นการเรียน แต่ให้มองการฝึกภาษาเป็นเรื่องสนุก ให้เป็นความท้าทาย ที่เราจะต้องเอาชนะมันให้ได้ และมองให้เป็นเรื่องธรรมดา แล้วจะทำให้เราไม่กดดัน และไม่เครียดที่ต้องฝึกภาษานั้น ๆ
เมื่อเราเริ่มเรียนภาษาใหม่ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวนับเป็นบทเรียนที่เราสามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้คำศัพท์ ลองนึกหรือมองทุกสิ่งรอบตัวให้เป็นภาษาอังกฤษ นึกคำศัพท์ของสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าไม่แน่ใจศัพท์คำไหน ก็ลองเปิดดิกดู ณ ตอนนั้นเลย หรือใครไม่สะดวกก็จดไว้ก่อน ค่อยมาเปิดดิกทีหลัง นอกจากนี้การแปะคำศัพท์ไว้ที่สิ่งของในบ้าน หรือที่ทำงาน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถจดจำคำศัพท์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
จำเป็นกลุ่มคำหรือประโยค
การรู้ศัพท์เป็นคำ ๆ นั้นจะดีสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนภาษาใหม่ ๆ แต่การเรียนโดยจำเป็นกลุ่มคำ หรือประโยค จะทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริงได้มากกว่า เพราะจะทำให้เราเข้าใจทั้ง โครงสร้าง รูปแบบประโยค คุณจะจะสามารถสร้างประโยคใหม่ ๆ เองได้ ด้วยการเปลี่ยนแค่คำนาม หรือคำกริยา โดยใช้รูปประโยคเดิม เช่น ประโยคที่คุณจำได้คือ I would have bought the eggs, but they were broken. แต่คุณสามารถสร้างประโยคใหม่เป็น “I would have read the book, but it was too long” หรือ “I would have worn my blue sweater, but it was torn.”
ฝึกพูดบทสนทนาเสมือนจริงกับเจ้าของภาษา
ไม่ว่าจะเป็นคนไทยที่พูดภาษานั้น ๆ ได้คล่อง หรือจะเป็นชาวต่างชาติเจ้าของภาษาก็ยิ่งดี นอกจากจะทำให้เราได้สังเกตการใช้คำ และรูปแบบประโยค แล้วนำมาปรับใช้ให้เราใช้ภาษาได้ดีขึ้น และช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่คู่สื่อสารต้องการจะสื่อแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการพูดคุยภาษานั้น ๆ เมื่อถึงเวลาต้องใช้จริงอีกด้วย
พาตัวเองได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาษานั้น ๆ
เปิดโอกาสให้ตัวเองได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภาษานั้น ๆ ถ้าใครไม่สะดวกที่จะพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่คนที่ใช้ภาษานั้น ๆ อย่างการไปอยู่เมืองนอก หรือไปเข้าชมรมต่าง ๆ ก็มีวิธีการง่าย ๆ ที่ได้ผลเช่นกัน เช่น ฟังเพลงญี่ปุ่น ฟังข่าวภาษาจีน หรือฟัง Podcast ภาษาอังกฤษ ในขณะที่กำลังทำงานบ้าน หรือจะเป็นการดูหนัง หรือซีรีส์ โดยการเปิดซับไทเทิล รวมถึงการอ่านหนังสือ โดยอ่านออกเสียงดัง ๆ โดยไม่ต้องแคร์ว่าจะเข้าใจเนื้อหาหรือไม่
ไม่ชอบอะไรก็ไม่ต้องฝืน
ถ้าคุณเกลียดแกรมม่า ก็ไม่ต้องไปตะบี้ตะบันเรียนมันมากนัก ลองใช้เวลาสักวันละ 10 นาที อ่านหนังสือหรือบทความที่คุณสนใจ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ แล้วพักด้วยการทำความเข้าใจแกรมม่าสัก 5 นาที แต่ค่อย ๆ สะสมไป ก็ได้ผลเหมือนกัน
และสิ่งสุดท้ายที่อยากฝากไว้ อย่ามองว่าการฝึกภาษใหม่ ๆ นั้นเป็นการเรียน แต่ให้มองการฝึกภาษาเป็นเรื่องสนุก ให้เป็นความท้าทาย ที่เราจะต้องเอาชนะมันให้ได้ และมองให้เป็นเรื่องธรรมดา แล้วจะทำให้เราไม่กดดัน และไม่เครียดที่ต้องฝึกภาษานั้น ๆ