ภาพตารางเวลเดินรถของไทย Thailand Train Timetables
ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งแบบภาษาไทย-อังกฤษ State Railway of Thailand
Railway
ตารางรถไฟ - ไทย https://tts.railway.co.th/m/index.php?ln=th
ตารางรถไฟ - อังกฤษ https://tts.railway.co.th/m/index.php?ln=en
กำหนดเวลาเดินรถ สายเหนือ
กำหนดเวลาเดินรถสาย ตะวันออก
กำหนดเวลาเดินรถ สายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
เส้นทางรถไฟ
สายเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และสายแม่กลอง
สายเหนือ
เริ่มจากสถานีกรุงเทพมุ่งไปทางทิศเหนือ ชุมทางบางซื่อ , บางปะอิน , อยุธยา แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี ผ่านลพบุรี , นครสวรรค์ , พิจิตร , พิษณุโลก , อุตรดิตถ์ , เด่นชัย (จังหวัดแพร่), นครลำปาง, ลำพูน สุดปลายทางที่สถานีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ( กม.751 ) และที่สถานีชุมทางบ้านดารา มีทางแยกไปสุดปลายที่สถานีสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ( กม.457 )
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
เริ่มจากสถานีกรุงเทพมุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา , บุรีรัมย์ , สุรินทร์ , ศรีสะเกษ และสุดปลายทางที่อุบลราชธานี ( กม.575 ) ที่ชุมทางถนนจิระในจังหวัดนครราชสีมามีทางแยกไปจังหวัดขอนแก่น , อุดรธานี สุดปลายทางที่หนองคาย ( กม.624 ) และที่สถานีแก่งคอย จังหวัดสระบุรีมีทางแยกผ่านลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี , จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ( กม.346 )สายใต้
เมื่อแรกสร้างมีจุดเริ่มต้นที่สถานีธนบุรี จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้สร้างทางแยกที่สถานีชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกับทางรถไฟสายใต้ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน ทางสายนี้ผ่านนครปฐม , ราชบุรี, เพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์ , ชุมพร , สุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช , พัทลุง , สงขลา , ยะลา สุดปลายทางที่สุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
ทางรถไฟสายใต้นี้มีทางแยกออกไปอีกหลายสายเริ่มจาก ที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก ( กม. 80 ) มีทางแยกไปสุพรรณบุรี ( กม. 157 ) และสถานีน้ำตกจังหวัดกาญจนบุรี ( กม.210 )
ที่สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทางแยกไปสุดทางที่คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ( กม. 678 )
ที่สถานีชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีทางแยกไปสุดปลายทางที่กันตัง จังหวัดตรัง ( กม.866 )
ที่สถานีชุมทางเขาชุมทองมีทางแยกไปสุดปลายทาง ที่นครศรีธรรมราช ( กม. 832 ) และที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ ( กม. 945 )
มีทางแยกไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซียที่สถานีปาดังเบซาร์ ( กม. 990 )
สายตะวันออก
เริ่มจากสถานีกรุงเทพ ผ่านฉะเชิงเทรา , ปราจีนบุรี สุดปลายทางที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ( กม. 255 ) ทางช่วงนี้ที่สถานีชุมทางคลองสิบเก้า ( กม. 85 ) มีทางแยกไปบรรจบทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สถานีชุมทางแก่งคอย ( กม.168 ) ที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ( กม.61 ) มีทางแยกไปท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ (กม.134) ซึ่งในทางช่วงนี้ที่สถานีชุมทางศรีราชามีทางแยกไปท่าเรือ-แหลมฉบัง และสถานีชุมทางเขาชีจรรย์มีทางแยกไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ประเภทขบวนรถโดยสาร
ขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถชานเมือง รถท้องถิ่น รถรวม และรถท้องถิ่น
1. ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น ปัจจุบันมีบริการจำนวน 10 ขบวน
2. ขบวนรถด่วน (Express)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ ปัจจุบันมีบริการจำนวน 9 ขบวน
3. ขบวนรถเร็ว (Rapid)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล แต่หยุดรับ - ส่ง ผู้โดยสารมากกว่าขบวนรถด่วน ปัจจุบันมีบริการจำนวน 17 ขบวน
4. ขบวนรถธรรมดา (Ordinary)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารเดินทางไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย หยุดทุก ๆ สถานี ปัจจุบันมีบริการจำนวน 27 ขบวน
5. ขบวนรถชานเมือง (Commuter)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 150 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุก ๆ สถานี และป้ายหยุดรถ
6. ขบวนรถท้องถิ่น (Local)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ
7. ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จะหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น
ที่มา https://www.railway.co.th