เล่นเน็ตบนเครื่องบิน ค่าใช้จ่าย สายการบินที่ให้บริการ

อยู่บนเครื่องบินที่กำลังบินไปสถานที่อื่น ทำไมยังเล่นเน็ตได้ มีค่าใช้จ่ายอย่างไร


รูปแบบการใช้งานบนมือถือ เรทราคา ไวไฟ Emirates

Stay connected until we land - best value 19.99 USD หรือประมาณ 644 บาท
Easy connect for 30 minutes 9.99 USD หรือประมาณ 322 บาท
Stay in touch with app messaging 3.99 USD หรือประมาณ 128 บาท
Update มกราคม 2022

 
ตัวอย่าง สายการบิน Emirates

- เครื่องบิน : ประมาณ 60% ของทั้งหมด – เครื่องบิน A380s ทั้งหมดและ B777 บางรุ่น
- ผู้ให้บริการ : OnAir
ราคา :
- - 20MB ฟรีในทุกชั้นบนเครื่องบิน A380
- - 150MB ราคาประมาณ 300 บาท
- - 500MB ราคาประมาณ 500 บาท
- - ฟรีสำหรับสมาชิก Emirates Skywards ในชั้นเฟิร์สคลาสและชั้นธุรกิจระหว่างเที่ยวบินทั้งหมด

ที่มา : 27 รายชื่อสายการบินที่มี WiFi ให้บริการบนเครื่อง
https://www.wegointer.com/2018/02/27-in-flight-wifi-2018/

Wi-fi บนเครื่องบินทำงานอย่างไร

คำถามก็คือ เราจะสามารถเชื่อมโยง Wi-fi จากเครื่องบินไปยังพื้นโลกได้อย่างไร ซึ่งประกอบด้วย 2 ทางด้วยกันที่สายการบินนิยมทำกัน

ในสหรัฐมีระบบ เครือข่าย 3G บนภาคพื้นดินทั่วสหรัฐ ซึ่งเครื่องบินก็สื่อสารกับพื้นโลกด้วยเครือข่าวนี้เช่นกัน เป็นระบบง่าย แต่ความถี่ของคลื่นกลับถูกจำกัดไว้น้อยมาก ความเร็วแค่ 3.1 เมกะไบต์ต่อเที่ยวบิน ซึ่งไม่ใช่สำหรับผู้โดยสารต่อหนึ่งคน ทำให้ลืมไปได้เลยว่า เราไม่สามารถเปิดเวปซ์ที่มีอัตราการโหลดสูงเช่น Youtube ได้  

แน่นอนว่าระบบใหม่ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมามาก ตอนนี้หลายสายได้ใช้เทคโนโลยี ATG-4 คือการติดโมเด็มและสายอากาศโดยตรงบนเครื่อง และมันก็ทำหน้าที่ติดต่อไปยังพื้นโลกและสามารถเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเยอะมาก และไม่ค่อยช่วยอะไรได้มากนัก

ปัจจุบันบางสายการบินได้ใช้เน็ตระบบดาวเทียม ด้วยเทคโนโลยี L-band ซึ่งปัจจุบันนี้ยังถือว่าช้าและค่อนข้างแพง และมีเทคโนโลยี Ku - Band ได้ความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีราคาประหยัดและมีคลื่นความถี่ที่เสถียรภาพ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ถึง 50 เมกะไบต์ ซึ่งถือว่าใช้ได้ดีทีเดียวสำหรับการบินอยู่เหนือมหาสมุทร

มีอีกหนึ่งบริการที่นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกาคือ ระบบ "OnAir" ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบ GSM หรือ wifi ประมาณ 80 % ของผู้โดยสารใช้ระบบ GSM เพียงเปิดเครื่องก็สามาราถใช้อินเตอร์เน็ตได้ทันทีเช่นกัน ซึ่งคล่้ายๆ กับการทำ โรมมิ่งในต่างประเทศส่วนบิลก็จะมาเก็บจากเราตามปกติ หากเราเลือกเป็นระบบ wifi  เราก็ต้องเสียให้กับสายการบินตามอัตราเรียกเก็บ

การบริการ wifi บนเครื่องบินลึกๆ แล้วไม่ค่อยได้กำไรเท่าไหร่เนื่องจากมีการแข่งขันสูง โดยแม้สายการบินมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขาย wifi  หรือขายตั๋วโดยมีบริการ wifi เป็นสิ่งจูงใจ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าสายการบินจะมีกำไร เพราะอัตราจ่ายให้ผู้บริการสูงกว่านั่นเอง สุดท้ายก็จะเป็นแค่เพียงบริการเสริมเพื่อผู้โดยสารเท่านั้น

ที่มา https://www.tg191.com/catalog.php?idp=690


ทำไมต้องปิดโทรศัพท์หรือเปิดโหมดเครื่องบิน
https://www.finder.com/th/close-mobile-phone-during-plane-take-off

เชื่อมต่อ WIFI บนเครื่องบินแบบไม่มีสะดุด ที่ Scoot
https://www.flyscoot.com/th/plan/booking-your-flight/wi-fi