อาการเจ็ตแล็ค (Jet lag) หรือ อาการเมาเวลา
ยกตัวอย่างเช่น เดินทางจากกรุงเทพฯไปนิวยอร์ก ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเราไป 12 เขตแบ่งเวลา และมีเวลาช้ากว่าเรา 12 ชั่วโมง เวลาเที่ยงคืนที่นิวยอร์ก จะเป็นเวลาเที่ยงวัน ที่กรุงเทพฯ ร่างกายของเรา ที่ยังคุ้นเคย กับ เวลาของเมืองไทยอยู่ ก็จะทำงานตาม เวลาในเมืองไทย เราจึงจะไม่รู้สึกง่วงเลย พยายามจะนอนก็นอนไม่หลับเพราะยังไม่ใช่เวลานอน พอเวลาเที่ยงหรือบ่ายๆที่นิวยอร์ก เราก็จะง่วงนอนเสียนี่ (ก็มันเที่ยงคืนบ้านเราเข้าไปแล้ว)
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ ร่างกายของเราจะมีการทำงาน ที่เป็นไปตามรอบของเวลาในแต่ละวัน เหมือนกับมีนาฬิกาอยู่ข้างในตัวเรา ข้อที่เป็นปัญหาเวลาเดินทางคือ เราไม่สามารถจะตั้งเวลาให้เจ้านาฬิกาเรือนนี้ใหม่ ได้ง่ายๆ เหมือนตั้งเวลานาฬิกาข้อมือ
นาฬิกาภายในตัวเรา จะปรับตัวหรือตั้งเวลาของมันใหม่ตามสิ่งแวดล้อม และเวลาที่เปลี่ยนไป ได้เหมือนกันแต่ต้องใช้เวลานาน คือ ข้ามเขตเวลาไปหนึ่งเขต จะต้องใช้เวลาในการปรับตัว 1 วัน ถ้าเวลาต่างกัน 12 เขต ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 12 วัน หรืออย่างน้อยที่สุดก็ประมาณ 1 สัปดาห์ ถึงจะเข้าที่เข้าทาง
การเดินทางโดยรถยนต์หรือรถไฟ มักไม่มีปัญหาเรื่องนี้เพราะว่่า ร่างกายมีเวลาค่อยๆปรับตัว อาการนี้จึงเป็นอาการ เฉพาะผู้เดินทาง โดยเครื่องบินโดยแท้
อาการเจ็ตแล็ค (Jet lag) และวิธีแก้
ใครจะมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้บ้าง คำตอบคือ ทุกคน แต่เด็กๆ จะปรับตัวได้ดีกว่า เมื่ออายุมากขึ้นก็จะปรับตัวได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าคุณจะเดินทางชั้นหนึ่ง หรือชั้นประหยัด ก็มีสิทธิมีอาการได้เท่าเทียมกัน แต่จะเป็นเฉพาะการเดินทางไปทางตะวันตก หรือ ตะวันออก ที่ต้องมีการเปลี่ยนเวลามากๆเท่านั้น และ มักจะเป็นน้อยกว่าถ้าบินจากตะวันออกไป ตะวันตก เช่น บินจากไทยไปอังกฤษ จะมีอาการน้อยกว่า จากอังกฤษมาไทย เป็นต้น. (ที่มา http://www.plan-travel.com)
อาการเจ็ทแล็ค (Jet lag) มักเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเที่ยวบินระยะยาว คนส่วนใหญ่มักจะบรรเทา อาการเจ็ทแล็ค Jet lag ด้วยการทานยานอนหลับ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ลองทำตามคำแนะนำข้างล่างดูอาจช่วยคุณได้มากกว่ายานอนหลับ
วิธีแก้ อาการเจ็ทแล็ค
เตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง
นี่คือส่วนสำคัญในการป้องกัน อาการเจ็ทแล็ค (Jet lag) ก่อนขึ้นเครื่อง คุณควรทำตัวให้ผ่อนคลาย และไม่ทำงานหนักจนเกินไปในคืนก่อนขึ้นเครื่อง ควรออกกำลังกายก่อนหน้าเดินทางประมาณ 2-3 วัน และระมัดระวังไม่ให้ป่วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดเป็นไข้ขึ้นมา ควรเลื่อนเที่ยวบินออกไป
กลางวัน หรือ กลางคืน เลือกเดินทางตอนไหนดี?
การเลือกช่วงเวลาเดินทาง ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน แต่นักเดินทางส่วนใหญ่คิดว่า ไฟลท์กลางวันจะช่วยลดการเกิด Jet lag ได้
ดื่มน้ำมากๆ
อากาศที่แห้งบนเครื่องบิน ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ควรดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำเปล่า คือทางเลือกที่ดีกว่ากาแฟ และน้ำผลไม้
อุปกรณ์การนอน
แค่ผ้าปิดตา ที่อุดหู และหมอนลม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้คุณหลับสบายยิ่งขึ้นระหว่างบิน และอย่าลืมถอดรองเท้าด้วย เพราะจะช่วยเพิ่มความสบายในการนอนมากกว่าเดิม
ออกกำลังกาย
การบริหารร่างกายระหว่างเดินทาง จะช่วยลดอาการไม่สบายตัว และเส้นเลือดขอดได้อย่างมาก เช่น การเดินไปเดินมาบนทางเดินระหว่างที่นั่ง การบิดตัวเล็กน้อยตรงที่นั่ง หรือการขยับเท้า และขาขึ้นลง นอกจากนั้นเมื่อเครื่องบินจอดพัก ควรเดิน หรือออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ
อาบน้ำ
บางครั้งสายการบินได้เตรียมห้องอาบน้ำ ระหว่างการแวะพัก ของเที่ยวบินยาว การอาบน้ำไม่เพียงทำให้คุณสดชื่นขึ้นอีกครั้ง แต่ยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งช่วยให้คุณรู้สึกดีตลอกการเดินทางที่เหลือ นักบินที่บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเผยว่า การได้อาบน้ำในฮาวาย ช่วยให้พวกเขาฟื้นจาก อาการเจ็ทแล็ค (Jet lag) ได้ดียิ่งขึ้น
จะเดินทางครั้งต่อไป วางแผนการเดินทาง เตรียมพร้อมร่างกายไว้แต่เนิ่นๆ แล้วสนุกกับทริปของคุณให้สุดๆ ไปเลยนะคะ
ใครจะมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้บ้าง คำตอบคือ ทุกคน แต่เด็กๆ จะปรับตัวได้ดีกว่า เมื่ออายุมากขึ้นก็จะปรับตัวได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าคุณจะเดินทางชั้นหนึ่ง หรือชั้นประหยัด ก็มีสิทธิมีอาการได้เท่าเทียมกัน แต่จะเป็นเฉพาะการเดินทางไปทางตะวันตก หรือ ตะวันออก ที่ต้องมีการเปลี่ยนเวลามากๆเท่านั้น และ มักจะเป็นน้อยกว่าถ้าบินจากตะวันออกไป ตะวันตก เช่น บินจากไทยไปอังกฤษ จะมีอาการน้อยกว่า จากอังกฤษมาไทย เป็นต้น. (ที่มา http://www.plan-travel.com)
อาการเจ็ทแล็ค (Jet lag) มักเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเที่ยวบินระยะยาว คนส่วนใหญ่มักจะบรรเทา อาการเจ็ทแล็ค Jet lag ด้วยการทานยานอนหลับ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ลองทำตามคำแนะนำข้างล่างดูอาจช่วยคุณได้มากกว่ายานอนหลับ
วิธีแก้ อาการเจ็ทแล็ค
เตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง
นี่คือส่วนสำคัญในการป้องกัน อาการเจ็ทแล็ค (Jet lag) ก่อนขึ้นเครื่อง คุณควรทำตัวให้ผ่อนคลาย และไม่ทำงานหนักจนเกินไปในคืนก่อนขึ้นเครื่อง ควรออกกำลังกายก่อนหน้าเดินทางประมาณ 2-3 วัน และระมัดระวังไม่ให้ป่วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดเป็นไข้ขึ้นมา ควรเลื่อนเที่ยวบินออกไป
กลางวัน หรือ กลางคืน เลือกเดินทางตอนไหนดี?
การเลือกช่วงเวลาเดินทาง ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน แต่นักเดินทางส่วนใหญ่คิดว่า ไฟลท์กลางวันจะช่วยลดการเกิด Jet lag ได้
ดื่มน้ำมากๆ
อากาศที่แห้งบนเครื่องบิน ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ควรดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำเปล่า คือทางเลือกที่ดีกว่ากาแฟ และน้ำผลไม้
อุปกรณ์การนอน
แค่ผ้าปิดตา ที่อุดหู และหมอนลม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้คุณหลับสบายยิ่งขึ้นระหว่างบิน และอย่าลืมถอดรองเท้าด้วย เพราะจะช่วยเพิ่มความสบายในการนอนมากกว่าเดิม
ออกกำลังกาย
การบริหารร่างกายระหว่างเดินทาง จะช่วยลดอาการไม่สบายตัว และเส้นเลือดขอดได้อย่างมาก เช่น การเดินไปเดินมาบนทางเดินระหว่างที่นั่ง การบิดตัวเล็กน้อยตรงที่นั่ง หรือการขยับเท้า และขาขึ้นลง นอกจากนั้นเมื่อเครื่องบินจอดพัก ควรเดิน หรือออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ
อาบน้ำ
บางครั้งสายการบินได้เตรียมห้องอาบน้ำ ระหว่างการแวะพัก ของเที่ยวบินยาว การอาบน้ำไม่เพียงทำให้คุณสดชื่นขึ้นอีกครั้ง แต่ยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งช่วยให้คุณรู้สึกดีตลอกการเดินทางที่เหลือ นักบินที่บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเผยว่า การได้อาบน้ำในฮาวาย ช่วยให้พวกเขาฟื้นจาก อาการเจ็ทแล็ค (Jet lag) ได้ดียิ่งขึ้น
จะเดินทางครั้งต่อไป วางแผนการเดินทาง เตรียมพร้อมร่างกายไว้แต่เนิ่นๆ แล้วสนุกกับทริปของคุณให้สุดๆ ไปเลยนะคะ